วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติเพลงลูกกรุง

ประวัติเพลงลุกกรุง
เพลง ลูกกรุง หมายถึง “บทเพลงที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ สังคม และคนเมืองหลวง รวมถึงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล ความรู้สึกของผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดจินตนาการตาม เนื้อร้องของบทประพันธ์ออกมาเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน ผู้ประพันธ์ นักร้อง นักดนตรี และผู้ฟังอาจเข้าถึงบทเพลงไปตามจินตนาการแตกต่างกันไป”
คำว่า “เพลงลูกกรุง” ได้แยกกลุ่มผู้ฟังอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามลำดับ โดยนำเอาความเป็นอยู่ (Lifestyle) ของผู้ฟัง ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี เป็นผู้กำหนดทิศทาง วงสุนทราภรณ์เป็นวงแรก ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องการแต่งตัวการออกกินข้าวนอกบ้าน มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มคนฟังจึงเริ่มรับแนวเพลงลูกกรุง เกิดการเปรียบเทียบระหว่างแนวเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นักร้องลูกกรุงที่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่กำหนดแนวเพลงลูกกรุงไว้ชัดเจนมีดัง ต่อไปนี้
เอื้อ สุนทรสนาน สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมยศ ทัศนพันธุ์ นริศ อารีย์
นพดฬ ชาวไร่เงิน วินัย จุลละบุษปะ ชาญ เย็นแข
กำธร สุวรรณปิยะศิริ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุล
อ้อย อัจฉรา จินตนา สุขสถิตย์ บุษยา รังสี
รวงทอง ทองลั่นธม สวลี ผกาพันธุ์ สมศรี ม่วงศรเขียว





                                                                                                                   
                                                                                                                       อ้างอิง
 
                                                                     สาวิตรี สุวรรณสถิตย์. " นิตยสารเพลงไทย "
                       
                                                  วารสาร ความร่วมมือกับต่างประเทศกระทรวงศึกษาธิการ                                              
                                                                             ปีที 9(2):1; เมษายน-มิถุนายน 2555.