วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติเพลงลูกกรุง

ประวัติเพลงลุกกรุง
เพลง ลูกกรุง หมายถึง “บทเพลงที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ สังคม และคนเมืองหลวง รวมถึงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล ความรู้สึกของผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดจินตนาการตาม เนื้อร้องของบทประพันธ์ออกมาเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน ผู้ประพันธ์ นักร้อง นักดนตรี และผู้ฟังอาจเข้าถึงบทเพลงไปตามจินตนาการแตกต่างกันไป”
คำว่า “เพลงลูกกรุง” ได้แยกกลุ่มผู้ฟังอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามลำดับ โดยนำเอาความเป็นอยู่ (Lifestyle) ของผู้ฟัง ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี เป็นผู้กำหนดทิศทาง วงสุนทราภรณ์เป็นวงแรก ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องการแต่งตัวการออกกินข้าวนอกบ้าน มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มคนฟังจึงเริ่มรับแนวเพลงลูกกรุง เกิดการเปรียบเทียบระหว่างแนวเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นักร้องลูกกรุงที่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่กำหนดแนวเพลงลูกกรุงไว้ชัดเจนมีดัง ต่อไปนี้
เอื้อ สุนทรสนาน สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมยศ ทัศนพันธุ์ นริศ อารีย์
นพดฬ ชาวไร่เงิน วินัย จุลละบุษปะ ชาญ เย็นแข
กำธร สุวรรณปิยะศิริ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุล
อ้อย อัจฉรา จินตนา สุขสถิตย์ บุษยา รังสี
รวงทอง ทองลั่นธม สวลี ผกาพันธุ์ สมศรี ม่วงศรเขียว





                                                                                                                   
                                                                                                                       อ้างอิง
 
                                                                     สาวิตรี สุวรรณสถิตย์. " นิตยสารเพลงไทย "
                       
                                                  วารสาร ความร่วมมือกับต่างประเทศกระทรวงศึกษาธิการ                                              
                                                                             ปีที 9(2):1; เมษายน-มิถุนายน 2555.

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กีฬาเปตอง

                                                     กีฬาเปตอง

 

ประวัติความเป็นมากีฬาเปตองในประเทศไทย

    กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยการริเริ่มของนายจันทร์  โพยหาญ นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนรู้จัก อย่างเป็นทางการคนแรก นายจันทร์  โพยหาญได้ร่วมกับนายศรีภูมิ สุขเนตร ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนเก่าฝรั่งเศ
ส ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านกีฬาเปตองเป็นอย่างดี ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมเปตอง และโรปวังซาล แห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 โดยมีนายศรีภูมิ สุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรกเมื่อจัดตั้งสมาคมเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการได้ช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ และสาธิตการเล่นเปตองมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร

    ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีทรงช่วยส่งเสริม และเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง โดยทรงรับสั่งให้จัดการแข่งขันเปตองชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ซึ่งพระองค์ท่านและสมเด็จพระพี่นางเอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ทรงได้ลงร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และอีกหลาย ๆ รายการจึงให้สมญานามกีฬาเปตองว่า “กีฬาสมเด็จย่า”
    ใน พ.ศ. 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับสมาคมเปตองและโปรวังซาล แห่งแระเทศไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ และวันที่ 22 เมษายน 2530 เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองฯ เป็นสหพันธ์เปตอง แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ สำนักงานตั้งอยู่ที่ 2088 อินเดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ ปัจจุบันกีฬาเปตอง มีการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬา ของส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนด้วย เช่น กีฬาแห่งชาติ กีฬาเขตการศึกษา กีฬากองทัพไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาของกระทรวงต่าง ๆ กีฬารัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
    จุดเด่นของกีฬาเปตอง
1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น
2. ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200 ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร
3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง
    ประโยชน์ของกีฬาเปตองพัฒนาทางด้านร่างกาย
- กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธืกัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
- กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนามซึ่งมีขนาดยาว 15 เมตร กว้าง 4 เมตร ลุกนั่ง เพื่อการวาง หรือเข้าลูกตลอดเวลาการเล่น
- สายตา กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้าลูกตีลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ

 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
- กีฬาเปตองเป็นเกมการเล่นที่จำเป็นต้องอาศัยการคิด คาดคะเน และการอ่านเกมในการเล่น อย่างจริงจัง คิดเกมรับเมื่อเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเกมรุกที่บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นตามเกมที่เราวางไว้

พัฒนาการทางด้านจิตใจ
- กีฬาเปตองมีทั้งเดี่ยว คู่ทีม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจถึงจิตใจของผู้ร่วมทีมเป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือกัน ยอมรับความคิดของกัน และกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าเป้นการเล่นประการใด ๆ ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉย ทำจิตให้สงบ ทำสมาธิให้ได้ ตั้งความหวังให้น้อย กว่าความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่ท้อถอยในการเล่น ไม่สนใจเสียงข่มขวัญ เสียงเชียร์ที่ดัง การสอนเกมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดความกังวลสับสน จะมีผลต่อเกมการเล่น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ

การพัฒนาการทางด้านสังคม
- กีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่เล่นได้ไม่ยาก จึงมีผู้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายจะเห็นได้ว่าในหมู่บ้าน หน่วยงานของรัฐและเอกชนได้จัดให้มีการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เล่นได้มาพบปะสังสรรค์ได้รู้จักและได้ร่วมสนุกกัน นับเป็นการสร้างสังคมอันดีแก่นักกีฬา นอกจากนี้ยังลดปัญหาสารเสพติด เนื่องจากคนหันมาเล่นกีฬาล่งผลให้ปัญหาอาชญากรรมลดลง
- ดังนั้นการเล่นกีฬาเปตองจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของการเล่น การใช้เทคนิคทุกรูปแบบ

อุปกรณ์การเล่นเปตอง
1. ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ลูกพลาสตอง” ผลิต จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ
2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม.ม. ทาสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
3. สนามเล่น สามารถเล่นได้ทุกสนาม ที่มีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ ขนาดของสนามกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร (ยกเว้นพื้นไม้ พื้นคอนกรีตลาดยาง)
ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเดี่ยว ใช้ลูกบูล 3 ลูก
2. ประเภทคู่ คู่ผสม ใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก
3. ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก
วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้ลูกบูลมีลวดลายต่างกัน
- เริ่มด้วยการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่นก่อน
- ฝ่ายชนะเสื่ยงเริ่มเล่นคนใดคนหนึ่ง เลือกจุดเริ่มต้น เขียนวงกลมบนพื้นสนามเส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 35-50 ซม. ห่างจากเส้นสนามได้น้อยกว่า 1 เมตร
- ฝ่ายชนะการเสี่ยงคนใดคนหนึ่งเข้าไปโยนลูกเป้าในสนาม ให้ห่างจากจุดเริ่มต้น ตามระยะดังนี้
- สำหรับเด็กเล็ก    ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ไม่เกิน 8 เมตร
- สำหรับเยาวชน    ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- สำหรับเยาวชน    ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- ผู้ใหญ่หรือทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร

การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึกก่อนการเล่น
การ บริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้
หลังการเล่น
หลังการฝึกซ้อม ทุกครั้ง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความตึงเครียด และเสียพลังงานไปเป็นจำนวนมาก การบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อม เช่น บีบ นวด กด จับ ทุกสลับกันไป จะเป็นการผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเมื่อยล้า และนอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบภายในส่วนต่าง  ๆ ของร่างกายกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด

วิธีการจับลูกเปตอง
1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล

4. ก่อนโยนลูกให้คว่ำมือลงดังรูปที่ 3,4,5,6 เหตุที่ต้องคว่ำมือเพราะจะสามารถบังคับลูกให้ไปตามทิศทางที่เราต้องการได้ ไม่ว่าลูกที่ปล่อยไปนั้นเป็นลูกเข้าหรือลูกตี

5. ก่อนโยนให้หักข้อมือลง และม้วนเข้าหาข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย ที่จะปล่อยลูกให้ใช้อุ้งมือส่งลูกออกไป โดยใช้ปลายนิ้วบังคับลูก
หลักการบังคับลูกเปตอง
นัก เปตองที่ฝึกหัดใหม่ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับลูกเปตองอย่างมาก สาเหตุอาจมาจากการฝึกที่ผิด หรือการไปจำวิธีการผู้อื่นแล้วนำมาฝึกอย่างผิด โดยขาดการแนะนำ หรือจากการฝึกที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง การฝึกการบังคับลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกเข้าหรือลูกตี ลูกหมุนซ้าย หมุนขวา หรือลูกสกรู (ลูกหมุนกลับหลัง) ปลายนิ้วมือและข้อมือมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการบังคับลูก
หลักการเข้าลูกบูล
การเข้าลูกบูล ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นเปตอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร มีหลักการเข้าลูกดังนี้
1. ใช้ความสังเกต และจดจำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และคู่ต่อสู่
2. ศึกาพื้นสภาพที่ใช้ฝึก หรือแข่งขัน ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร แข็ง เรียบ ขรุขระ ฯลฯ
3. หาจุดตก เพื่อจะได้คำนวณน้ำหนักมือที่จะส่งลูก ให้พอเหมาะกับระยะ
4. ไม่ควรโยนลูกออกจากมือ ถ้าสมาธิยังไม่ดีพอ
นอกเหนือจาก 4 ประการนี้แล้ว สิ่งที่อาจทำให้การเข้าลูกไม่ดีเท่าที่ควรก็คือ ลูกบูลน้ำหนักและมือไม่สมดุลกัน การเข้าลูกมี  2 ลักษณะ คือ นั่งกับยืน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เท้าทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในวงกลม ไม่เหยียบกัน และไม่ยกเท้าในขณะโยนลูก
ลักษณะการนั่งเข้าลูก นั่งบนส้นเท้า มีเท้านำ และเท้าตาม เขย่งส้นเท้าขึ้น และเท้าทั้งสองต้องอยู่ในวงกลมไม่เหยียบเส้น
วิธีการฝึกเข้าลูก
วิธีที่ 1 ให้เขียนวงกลมเป็นเป้าหมายซ้อนกันหลาย ๆ วง วงในสุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. วงนอกต่อ ๆ มาห่างกันวงละ 10-15 ซม. กำหนดคะแนนวงในให้ 5 คะแนน วงต่อ ๆ มาเป็น 4,3,2,1 ตามลำดับ แล้วฝึกเข้าลูกจากระยะ 6 เมตร 6,5,7,7.5 ไปเรื่อย ๆ จนถึง 11 เมตร ฝึกโยนทุกระยะ ระยะละ 40-50 ลูก แล้วจดบันทึกคะแนนแต่ละระยะไว้เพื่อเปรียบเทียบถึงความบกพร่อง ระยะใดที่มีความบกพร่องมากก็ให้ฝึกระยะนั้นมากขึ้น
วิธีที่ 2 ให้เขียนสี่เหลี่ยมมีลูกเป้าอยู่ในสี่เหลี่ยมในสุด ซึ่งมีรัศมี 20 ซม. จากนั้นให้ทำสี่เหลี่ยมซ้อนไปเรื่อย ๆ เส้นห่าง 5-10 ซม. กำหนดคะแนน 5,4,3,2,1 ตามลำดับ ในแต่ละเส้นล่างของสี่เหลี่ยมจะมีลูกบูลอยู่โดยวางแบบสลับฟันปลา กำหนดจุดในการฝึกเหมือนวิธีที่ 1 ระยะใดบกพร่องก็ให้ฝึกระยะนั้นมาก ๆ
วิธีที่ 3 การฝึกเข้าเหมือนแบบที่ 1 แต่เพิ่มลูกบูลดักไว้ ถ้าเข้าถูกลูกบูลที่วางไว้ถือว่าฟาวล์ตองติดลบคะแนน ฝึกให้ชำนาญ

วิธีการฝึกตีลูก
การ ตีลูกเป็นส่วนสำคัญของการเล่นเปตองอีกประการหนึ่ง เมื่อไม่สามารถเข้าลูกให้ชนะคู่ต่อสู้ได้ ต้องอาศัยการตีลูกเพื่อให้ลูกของคู่ต่อสู้ออกจากจุดที่ตั้งอยู่ ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่มักเผชิญต่อความยากลำบากในการตีและบังคับลูก สาเหตุอาจมาจากข้อบกพร่องดังนี้
1. ผู้เล่นจับลูกไม่ถูกวิธี และขาดสมาธิ
2. ผู้เล่นอาจตีลูกช้า หรือเร็วเกินไป
3. การประสานงานของแรงตีลูกไม่ถูกจังหวะ
4. การวางตัว และวางเท้าผิดจากความถนัดของตนเอง
5. แขนงอ หรือแกว่งขณะตีลูก
6. ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
7. ขาดการฝึกซ้อมหรือเว้นระยะการฝึกซ้อมนานเกินไป
8. ลูกเปตอง (ลูกบูล) มีขนาดและน้ำหนักไม่สมดูลกัน
    แต่ถ้าผู้ฝึกพบว่าสาเหตุต่าง ๆ ของการตีเกิดขี้นเพราะสาเหตุใด หรือหลายสาเหตุ ให้แก้ไขดัดแปลงวิธีการฝึกทีละขั้นแต่ต้องจับ และวางลำตัว เท้าให้ถูกต้อง โดยอาศัยแรงจาก 3 แหล่งใหญ่ คือ
1. แรงตีที่เกิดจากการเหวี่ยงของแขน
2. แรงตีที่เกิดจากการดีดตวัดข้อมือและนิ้วมือ
3. แรงตีที่เกิดจากำลังขาทั้งสองข้าง โดยการย่อเข่าช่วยเล็กน้อย

วิธีการฝึกตีลูก
วิธีที่ 1 การตีลูกเลียด (ตีไลน์) เป็นการตีลูกลักษณะเกี่ยวกับการเข้าลูกระยะใกล้ แต่ใช้ความแรงมากกว่า และเหมาะสำหรับพื้นสนามเรียบเท่านั้นทิศทางของลูกที่ตีไปหาความแน่นอนไม่ได้ หากมีลูกของฝ่ายตรงข้ามหรือของตนขวางหน้า ก็ไม่สามารถตีลูกลักษณะนี้ได้
วิธีการฝึก
- หาจุดตกของลูก ซึ่งควรเป็นที่เรียบที่สุด
- จุดตกที่ดีไม่ควรห่างจากลูกที่จะตีเกิน 2 เมตร (ยิ่งจุดตกห่างลูกที่ตีมากมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้มาก)
- ก่อนที่จะตีลูกต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตี เช่น แขน มือ นิ้วมือ ข้อมือ และขาทั้งสองข้าง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจริง
วิธีที่ 2 การตีลูกถึงตัว (ตีเจาะ) การตีลูกนี้เหมาะกับสภาพสนามทุกรูปแบบ และเป็นลูกที่นักกีฬาเปตองทั่วไปใช้กันมากที่สุด เนื่องจากการฝึกตีลูกนี้หากตีได้อย่างแม่นยำ ลูกที่ต่ำไปถูกลูกคู่ต่อสู้ เป็นจังหวะเดียวกับลูกตกถูกพื้นพอดี ลูกที่ตีมีโอกาสอยู่แทนที่ได้ด้วย การฝึกตีลูกนี้นักกีฬาไม่ต้องพะวงว่าจะมีลูกขวางหน้า
ท่าทางในการตีลูก
- ยืนในท่าที่ถนัดที่สุด แต่เท้าทั้งสองข้างต้องไม่เหยียบเส้น และอยูในวงกลม
- ตั้งลูกตามต้องการเพื่อฝึกตี
- เริ่มฝึกตีจากระยะใกล้ ๆ ก่อน จาก 3 เมตร 4 เมตร 5 เมตร ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะ 12 เมตร แล้วจดสถิติไว้ทุกวัน ๆ เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตีลูกให้สัมพันธ์กันระหว่างการดีดตวัดข้อ มือ นิ้วมือ และขาทั้งสองข้าง ระบบการหายใจก็มีส่วนสำคัญ เกี่ยวกับกับการตีลูกมาก ควรจะได้มีการฝึกให้ประสานงานให้ดี
- ก่อนตีลูกจะต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตัวเอง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง

แหล่งที่มา
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1342